มารู้จักรสชาติของกาแฟแต่ละทวีปกัน
มารู้จักรสชาติของกาแฟแต่ละทวีปกัน
“รสชาติของกาแฟจากประเทศอื่นเป็นยังไงบ้างนะ?”
HIGHLIGHT :
-
- – ฺกาแฟจากทวีปแอฟริกานั้นโดยรวมแล้วจะมีความเปรี้ยวสูง บอดี้น้อย มีความหอมมาก และมีความหวานที่มากเช่นกันครับ สาวกกาแฟสาย Filter ต้องมาโดนกัน
- – กาแฟในโซนอเมริกาใต้ เหมาะกับผู้หัดดื่ม Single Origin เพราะส่วนมากจะเปรี้ยวน้อย รสชาติ กลม ๆ ดื่มง่าย
- – ถึงแม้เยเมนจะอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกกลาง แต่สำหรับกาแฟแล้วจะจัดอยู่ในโซนแอฟริกา
_____________________________
ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงสงสัยกันมั่งหล่ะครับ ว่านอกจากประเทศไทยแล้ว ที่ไหนเค้าปลูกกาแฟกันบ้าง จริง ๆ แล้ว มีหลายที่ทั่วโลกครับ ผมขอแบ่งออกเป็นโซนใหญ่ ๆ ทั้งหมด 5 โซนและยกตัวอย่างประเทศที่นิยมในแต่ละโซนทวีปนั้น ๆ ซึ่ง Taste กาแฟที่ผมจะพูดถึงส่วนใหญ่จะเป็นกาแฟในเกรดที่เรียกกันว่า Commercial Grade นะครับ ซึ่ง หากเป็น กาแฟ Specialty Grade นั้น อาจจะมีรสชาติโดดเด่นขึ้น หรือ พิเศษจนไม่มีกลิ่นอายของ Commercial Grade ตามประเทศถิ่นกำเนิดตนเองเลยครับ
1. โซนทวีปแอฟริกา
โซนนี้โดยรวมแล้วจะมี Acidity ค่อนข้างสูง หรือที่เราเรียกกันว่าเปรี้ยวนั่นเอง แต่จะเป็นเปรี้ยวแบบกรดผลไม้นะครับ บอดี้ค่อนข้างน้อยแต่มีรสหวานฉ่ำมาก Aroma จะหอมพุ่งสุดๆ ไปเลย
ในโซนนี้ ประเทศที่ผมไม่พูดถึงไม่ได้เลย คือ กาแฟจาก Ethiopia ครับ เอธิโอเปียถือเป็นที่แรกๆ ของโลกเลยที่ปลูกกาแฟ และกาแฟเป็นพืชพื้นเมืองของที่นี่ครับ โดยส่วนมากจะใช้ชื่อสายพันธ์ หรือ Varietals ว่า Heirloom ที่นี่ปลูกกาแฟกันหลายเมืองมากๆ ส่วนใหญ่จะมีด้วยกันอยู่ 2 Process คือ Washed และ Natural สำหรับใครที่กำลังเริ่มดื่ม Single Origin จากต่างประเทศ และต้องการเปิดโลกกาแฟในมุมมองใหม่ๆ ผมขอแนะนำ Ethiopia เมือง Yirgacheffe ผลิตแบบ Washed Process ส่วนตัวแล้วกาแฟตัวนี้เป็นตัวที่ต้องลองเลย กาแฟจะเปรี้ยวผลไม้โทน Lemon หรือ Orange กลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ และหวานสุด ๆ พอทานแล้ว ต้องพูดกันเลยว่า “เห้ย! นี่มันกาแฟจริงๆ หรือนี่” ยิ่งช๊อตตอนน้ำลายสอของเราไปโดน Acidity ของกาแฟแล้วหล่ะก็ “แม่เจ้าโว้ย หวานเจี๊ยบบ” ส่วน Natural Process ก็เจ๋งไม่แพ้กัน Body จะเพิ่มมากขึ้นและ Acidity ที่ได้ จะเป็น พวก Berry Tone อย่างเช่น Strawberry, Cherry, Blueberry ด้วย Aicidity แบบนี้ Mouth Feel ของเรา จะนวลปากมาก ๆ ครับ ยิ่งตอนทำ ช๊อต Espresso หรือ Ristretto มาใช้ในเมนู Latte หรือ Cappucino ผู้ดื่มอาจจะรู้สึกได้ว่า “นี่มันโยเกิร์ต ผลไม้ชัด ๆ”
อีกประเทศนึงที่ผมอยากแนะนำ เป็นกาแฟจาก Kenya ครับ กาแฟของที่นี่ มาตรฐานในการผลิตถือว่าสูงเลย เด็ดทุกที่ และมีความนิ่งในการผลิต เมล็ดค่อนข้างใหญ่ ราคาก็ค่อนข้างสูงกว่าหลายๆ ประเทศ กาแฟจะมี Acidity ที่หนักแน่น ถ้าเป็นส้ม ก็ส้มคุณภาพดี ๆ ไม่ใช่แบบส้มจี๊ด เปรี้ยวปี๊ดป๊าดซะอย่างเดียว แต่จะอารมณ์แบบส้มสายน้ำผึ้ง หรือ ส้มแมนดาริน ที่เปรี้ยวอมหวาน กาแฟ Kenya ที่หลาย ๆ คนชอบก็เพราะว่า เป็นกาแฟ โซน Africa ที่ Taste ครบรสกว่าแหล่งอื่นในโซนเดียวกัน และ Body ดี เทียบเคียงกับ โซน Central America ได้เลย
ส่วนกาแฟจากแหล่งสุดท้ายที่จะยกตัวอย่างในโซนทวีปนี้ คือ Yemen ครับ เยเมนเป็นประเทศในคาบสมุทรอาหรับ เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกกลาง ซึ่งอยู่ใกล้กับทวีปแอฟริกา และได้รับอารยธรรมส่วนมากมาจากเอธิโอเปียครับ และกาแฟที่โด่งดังของเยเมน คือ Mocha Yemen ซึ่งกาแฟตัวนี้เป็นที่มาของเมนูที่เรารู้จักเป็นอย่างดีคือ Caffe Mocha นั่นเอง โดยกาแฟจากแหล่งนี้จะมีรสชาติโกโก้อันเป็นเอกลักษณ์ Mocha Yemen ถือได้ว่าหนึ่งในกาแฟที่น่าลองมาก ๆ แต่จะค่อนข้างหาดื่มยากสักหน่อยในบ้านเราครับ
กาแฟจากทวีปแอฟริกานั้นโดยรวมแล้วจะมีความเปรี้ยวสูง บอดี้น้อย มีความหอมมาก และมีความหวานที่มากเช่นกันครับ สาวกกาแฟสาย Filter ต้องมาโดนกันเลยครับ
2. โซนทวีปอเมริกาใต้
กาแฟโซนนี้เหมาะกับผู้หัดดื่ม Single Origin เลยครับ ส่วนมากจะเปรี้ยวน้อย ดื่มง่าย รสชาติ กลมๆ ไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไหร่ ประเทศแรกที่จะต้องพูดถึงเลยก็คือ Brazil ครับ ประเทศนี้ผลิตกาแฟได้มากที่สุดอันดับ 1 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ผลิตสายพันธุ์ Arabica เช่นกันครับ กาแฟ Brazil จะมี Acidity แบบ Green Apple หรือ ผลไม้จำพวก Marlic Acid รสนุ่มนวล Nutty และ Body ดีมากๆ อีกประเทศนึง คือ Colombia หลายคนชอบประเทศนี้เนื่องจาก โดยพื้นฐานรสชาติคล้ายๆ Brazil ทานง่าย แต่ว่ามีมิติของรสชาติ (Complex) มากขึ้นครับ กาแฟทั้ง 2 ประเทศในระดับ Specialty Grade จำพวก COE Rank อันดับต้นๆ แล้วหล่ะก็ Flavour และ Acidity มาเต็มชัดเจน กลิ่นหอมหวานมากๆ แต่ราคาก็จะสูงกว่าเดิมมากๆ ครับ เพราะว่า Taste แบบนี้ในโซน South America นั้นดูแลและผลิตได้ยากครับ ด้วยความที่หายากจัง ผมจึงจะขอแนะนำประเทศ Bolivia แทน ซึ่งเป็นกาแฟโซน South America ที่มี Flavour หลากหลาย มากกว่า Brazil และ Colombia ครับ ราคาก็พอๆ กับ Single Origin ทั่วไปเลยครับ
อย่างที่กล่าวไป กาแฟ ฺBrazil และ Colombia นั้น นุ่มนวลทานง่าย Acidity น้อย และมี ฺBody ที่ดีมาก จึงนิยมนำไปทำ Base ของ Blend ต่างๆ และที่สำคัญอีกอย่างคือ กาแฟทั้งสองจะไม่รบกวนรสกาแฟจากแหล่งอื่นที่เราใส่เข้าไปเป็น Flavor และ Aroma ใน Blend ครับผม
3. ทวีปอเมริกากลาง
กาแฟโซนนี้จะมีมิติรสชาติค่อนข้างซับซ้อน (Complex) มีความเปรี้ยว ไม่มากไม่น้อยไป บอดี้กลางๆ ถึงมาก ส่วนตัวผมชอบกาแฟในโซนนี้ที่สุด เพราะรู้สึกว่า กินทีคุ้มเลย ครบรส หากใครอยากลองทานกาแฟโซนทวีปนี้แล้วหล่ะก็ ผมขอแนะนำ Guatemala ก่อนเลย กาแฟประเทศนี้เป็นกาแฟที่ดีมาก ๆ มีเอกลักษณ์ คมชัดในรสชาติ จะมี Acidity แบบ Citrus แต่มี Flavor คล้ายกับ Chocolate, Nutty ส่วนของ Body รู้สึกเต็มปากเต็มคำเลยครับ (Round Cup) กาแฟจาก Guatemala หากนำไป Blend จะนิยมนำไปเติมในส่วนของ Flavor เพราะรสชาติโดดเด่นและไม่เปรี้ยวแหลมจนเกินไป ทำให้เรา ทาน Blend นั้นได้อร่อยและรสชาติชัดเจนเลยครับ หากรสชาติเปรี้ยวแหลมของ Ethiopia เป็นรูป 3 เหลี่ยม กาแฟ ฺBrazil เป็นลักษณะวงกลม รสชาติของ Guatemala ก็เปรียบได้กับ รูป 8 เหลี่ยมเลยครับ
ประเทศต่อมาคือ El Salvador อารมณ์ที่ได้จะคล้ายๆ กับ Guatemala ที่ Complex นั่นแหละครับ แต่ว่านุ่มนวล (Smooth) มากขึ้น มีความ Bright Tone กว่า และในส่วนของ Acidity Citrus จะได้ Sweetness ฉ่ำแบบผลไม้ด้วย (Fruity) หลายคนชอบกาแฟจากแหล่งนี้เพราะเวลาทานรู้สึกครบรสและเบาสบายลื่นคอ ดื่มง่ายครับ
ประเทศสุดท้ายที่จะยกตัวอย่างคือ Panama ครับ Flavor ที่ได้ จะออก Chocolate และ Almond หรือ Hazelnut นุ่มนวล ดื่มง่าย Acidity ถือว่าน้อย มี Body ที่ดี รสหวานแบบ Caramel ถือได้ว่าเป็นกาแฟที่รสชาติง่าย ๆ แต่ครบรส ตัวหนึ่งเลยครับ ยิ่งโดยเฉพาะสายพันธุ์ Geisha กาแฟสายพันธุ์นี้ ส่วนใหญ่จะทำมา 2 Process คือ Natural Process (Dry) และ Wet Process รสชาติที่ได้ คล้ายๆกับ Ethiopia ที่ผมกล่าวไปในข้อแรก แต่ว่ารสชาติจะมีมิติมากขึ้น และที่สำคัญกาแฟจะมี Body ที่ดีมากเลยครับ สำคัญมากกว่าขึ้นไปอีก ซึ่งทำให้ Panama Geisha โดดเด่น จนผู้ดื่มจะจำได้ชัดเจนที่สุดคือ Acidity ที่ให้รสแบบ Peach หากใครมีโอกาสได้ลอง ผมพูดคำเดียวว่า อย่าพลาดเลยครับ
4. ทวีปเอเชีย
ทวีปนี้รสชาติจะเป็นไปตามแหล่งเพาะปลูกครับ ตัวอย่างเช่น India จะมีรสกลมๆ ถั่วๆ คล้ายๆ กาแฟ Brazil เลยครับ ส่วนกาแฟจากไทยและลาว เท่าที่ผมสัมผัสรสชาติค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่กาแฟไทยจะมีมิติรสชาติมากกว่า ส่วนกาแฟลาวจะเปรี้ยวน้อยกว่าครับ…
ในทวีปนี้ ประเทศที่มีผลผลิตกาแฟเป็นอันดับที่ 2 ของโลก คือ Vietnam โดยเป็นอันดับ 1 ของโลกในการผลิต กาแฟ Robusta ครับ ในเอเชียเราประเทศที่มีชื่อเสียงในเชิงคุณภาพก็คงจะเป็น Indonesia ที่มีดินภูเขาไฟผลิตกาแฟ หลายตัวเช่น Java (เกาะชวา) และ Sumatra
ประเทศ Indonesia มีกาแฟที่แพงและโด่งดังไปทั่วโลกเลย คือ Kopi Luwak หรือที่ บ้านเรานิยมเรียกว่า “กาแฟขี้ชะมด” ราคาที่สูงก็คงจะมาจากรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ ปริมาณการผลิตที่น้อย แต่ช่วงหลัง ๆ ผู้บริโภคหลายคนต่อต้านกาแฟขี้ชะมด เนื่องจากส่วนหนึ่งบอกว่ากรรมวิธีผลิตค่อนข้างไม่สะอาด และส่วนใหญ่มองว่าเป็นการทรมานสัตว์ เพราะมีหลายฟาร์มจับชะมดมาขังกรงแล้วนำกาแฟดีบ้างไม่ดีบ้างให้ชะมดกิน โดยส่วนตัวผม Kopi Luwak ของ Indonesia เป็นกาแฟที่น่าลองมากกว่าที่อื่น เพราะความ Original ของมัน แต่ผมว่าเราก็ควรจะหากาแฟที่ไม่เป็นการทรมานสัตว์จะดีกว่ามากครับ.
5. โซนโอเชียเนียและหมู่เกาะแปซิฟิก
ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิจิ และ ฮาวาย ฮาวายเป็นแหล่งเดียวของอเมริกาเหนือที่สามารถปลูกกาแฟได้คุณภาพครับ กาแฟจากที่นี้ น่าจะถือได้ว่าเป็นกาแฟที่มีค่าแรงการผลิตราคาสูงที่สุดในโลกแล้ว เนื่องด้วยค่าครองชีพและค่าแรงของอเมริกานั้นมากกว่าประเทศที่ปลูกกาแฟหลายตังค์เลยครับ…
___________________________________________________________________________________________
…ทางโรงคั่วเราก็จะมีกาแฟ Single Origin จากทั่วมุมโลกออกมาอยู่ตลอด.. ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นมีกาแฟจากแหล่งไหนที่น่าสนใจครับ
และนี่จะเป็นเบลนหลักของทางเราครับ Blend จากแหล่งเพาะปลูกไทยและลาว ค่อนข้างเปรี้ยวน้อย บอดี้ดี ดื่มและชงง่าย เหมาะสำหรับกาแฟหลากหลายเมนู ทั้งกาแฟดำและกาแฟผสมนม สอบถามกันมาได้เลยนะครับ https://www.thealisonscnx.com/product-category/roasted-beans/
#THEALISONS #Infographic #coffeeinfographic #เดอะอาลีซันบริการดุจญาติฝ
#เครื่องกรองน้ำBWT